ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กในการสร้างบ้าน เหล็กเส้นกลมทำจากอะไร กระบวนการผลิตเป็นยังไง

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กในการสร้างบ้าน เหล็กเส้นกลมทำจากอะไร กระบวนการผลิตเป็นยังไง
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กในการสร้างบ้าน เหล็กเส้นกลมทำจากอะไร กระบวนการผลิตเป็นยังไง


ก่อนที่จะรู้ว่าเหล็กเส้นกลมทำจากอะไรและกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร เรามาดูเรื่องการเลือกเหล็กสร้างบ้านกันก่อนดีกว่า

การเลือกเหล็กสร้างบ้านควรเลือกเหล็กที่มีคุณภาพ คือใช้ เหล็กเต็ม เหล็กเต็ม หมายถึง เหล็กที่ผลิตออกมาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กและน้ำหนักเหล็กได้ตามที่มาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด (มอก.)  ถ้าซื้อเหล็กมาเป็นมัด จะมีแผ่นเพลทบอกขนาด รุ่น บริษัทที่ผลิตและ มอก. ถ้าซื้อไม่มาก สังเกตุที่เหล็กว่ามีตัวนูน มอก.หรือไม่ ถ้าเป็นเหล็กตัวซี จะมีสีพ่นข้างเหล็ก บอกขนาด ความหนาและเห็น มอก.แบบชัดเจน

เหล็กเบาหรือเหล็กไม่เต็ม ที่นี่นิยมเรียกว่า เหล็กโรงเล็ก หรือ เหล็กไม่เต็ม หมายถึง
เหล็กเส้นหรือเหล็กรูปพรรณที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือขนาดหน้าตัด และน้ำหนักไม่ได้ตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำหนดไว้
มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ (นำเศษเหล็กที่ใช้งานแล้ว หรือเศษเหล็กเสียสภาพมารีดใหม่อีกครั้ง) ส่งผลให้มีค่าการรับแรงอัดและแรงดึงได้น้อยลง ไม่เป็นไปตามที่วิศวกรออกแบบไว้
หากนำไปใช้ในงานโครงสร้างอาคารอาจก่อให้เกิดอันตราย แตกหักเสียหาย หรือพังทลายลงมาภายหลังได้

การใช้งานเหล็กเบา

เหล็กเบาสามารถใช้ในงานหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก เช่น เหล็กเส้นในงานหล่อกระถางต้นไม้ เหล็กหนวดกุ้งในผนังก่ออิฐ เหล็กกล่องทำโครงสวนแนวตั้ง ทำหลังคากันสาดขนาดเล็ก หรือตกแต่งประตูรั้ว เป็นต้น

เหล็กเส้นกลม (Round Bars RB) ทำจากอะไรบ้าง

เหล็กเส้นกลม ทำจากเหล็กแท่งเล็ก (billet)
เหล็กเส้นกลม ทำจากเหล็กแท่งใหญ่ (bloom)
เหล็กเส้นกลม ทำจากเหล็กแท่งหล่อ (ingot)
เหล็กเส้นกลมทำด้วยกรรมวิธีรีดร้อนโดยไม่เคยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน
เหล็กแท่งเล็ก เหล็กแท่งใหญ่ เหล็กแท่งหล่อ ทํามาจากกรรมวิธีแบบโอเพนฮารท (open hearth) เบสิกออกซิเจน (basic oxygen) หรือ อิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ (electric arc furnace)

กระบวนการผลิตเหล็กเส้นกลม

กระบวนการรีดเหล็กเส้นเริ่มจากการนำบิลเล็ทเข้าเตาเผาเหล็ก (Billet Reheating Furnace) ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 1,100 องศาเซลเซียส เมื่อบิลเล็ทถูกเผาจนร้อนแล้ว จึงลำเลียงเข้าสู่แท่นรีดเหล็กจำนวน 3 ชุด คือ แท่นรีดหยาบ (Roughing Mill) แท่นรีดขั้นกลาง (Intermediate Mill) และแท่นรีดละเอียด (Finishing Mill) ตามลำดับ เพื่อรีดเป็นเหล็กเส้นโดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตามที่กำหนด 

เหล็กเส้นที่ออกจากแท่นรีดสุดท้ายจะผ่านเข้าเครื่องชุบแข็ง (Thermo Mechanical Treatment – T.M.T. Machine) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้มีคุณภาพที่แข็งขึ้น ซึ่งกระบวนการผลิตโดยเครื่องชุบแข็งนี้ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบได้ กล่าวคือ บริษัทสามารถนำเหล็กแท่งบิลเล็ทที่คุณภาพเกรดต่ำกว่า มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า มาผลิตเป็นเหล็กเส้นที่มีคุณภาพเกรดสูงกว่า เช่น การนำบิลเล็ทคุณภาพ SD30 มาผลิตเป็นเหล็กเส้นคุณภาพ SD40 เป็นต้น เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
เมื่อได้เหล็กเส้นที่มีคุณภาพตามที่ต้องการแล้ว นำไปตัดความยาวขั้นแรกด้วยเครื่องตัดแบ่งความยาว (Dividing Shear) นำเหล็กเส้นลำเลียงเข้าลานลดอุณหภูมิ (Cooling Bed) เมื่อความร้อนคลายตัว จึงนำเข้าเครื่องตัดเหล็ก (Cold Shear) อีกครั้ง เพื่อตัดให้ได้ความยาวตามมาตรฐาน นำเหล็กเส้นกลมที่ผลิตได้เข้าเครื่องมัดเหล็ก และนำไปเก็บในคลังสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

ความคิดเห็น