หลักการผลิตเหล็กข้ออ้อย



เหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานบังคับ มอก. 24-2548 ซึ่งได้รับการปรับปรุงจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย ที่ มอก.24-2536 สาระสำคัญประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของเหล็กข้ออ้อยในครั้งนี้ ได้แก่การอนุญาตให้มีการผลิตเหล็กข้ออ้อยโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (heat treatment rebar หรือ tempcored rebar) โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องจัดทำเครื่องหมายที่เหล็กข้ออ้อยโดยใช้สัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนถาวรบนเนื้อเหล็กตามหลังชั้นคุณภาพที่ผลิตขึ้น ดังนั้นเหล็กข้ออ้อยที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ในชั้นคุณภาพ SD40 และ SD50 จึงปรากฏสัญลักษณ์ตัวนูนเป็น SD40T และ SD50T

1. การผลิตเหล็กเส้นโดยกรรมวิธีความร้อน 

ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน ด้วยกระบวนการรีดร้อน
ผ่านกระบวนการทำให้เย็นโดยการฉีดสเปรย์น้ำ เมื่อเหล็กเส้นเย็นตัวเหมาะสมพอแล้วจึงหยุดการฉีดสเปรย์น้ำ
อบคลายความเครียดตกค้างโดยการแผ่ความร้อนจากแกนกลางออกมาด้านนอก
ควรหลีกเลี่ยงการกลึง หรือลดขนาดเหล็กอย่างมากก่อนนำไปใช้งาน

2. การต่อเหล็กเส้น


ตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง วสท.1008-38 ข้อ 4513 อนุญาตให้ทำการทาบเหล็ก (lapped splice) ได้เฉพาะเหล็กเส้นที่มีขนาด

เส้นผ่านศูนย์กลางไม่โตกว่า 36 มม. ซึ่งหากเหล็กเส้นมีขนาดโตกว่าที่กำหนดไว้ ต้องทำการต่อเหล็กเส้นด้วยการต่อเชื่อม (welding) หรือการใช้ข้อต่อทางกล (mechanical coupler) ซึ่งอาจมีผลกระทบโดยตรงหากใช้เหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน


• การต่อเชื่อมของเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (SD40Tและ SD50T) จะใช้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุลภาคของเหล็กภายหลังการรีดร้อน มีส่วนประกอบ ทางเคมี ที่ได้แก่ Carbon และ Manganese

• การใช้ข้อต่อทางกลเพื่อต่อเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน (SD40Tและ SD50T)จากเทคโนโลยีและการคำนวณเพื่อหาระยะเกลียวสั้นที่สุดที่ทำให้ระบบเกลียวมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะใช้งานโดยไม่เกิดความเสียหายจากแรงต่าง ๆ โดยจะพิจารณาจากกำลัง หรือความแข็งแรงของจุดต่อ ค่าความแข็งแรงและค่ากำลังดึงของจุดต่อที่ใช้ข้อต่อจะขึ้นอยู่กับขนาดของเกลียว ความแข็งแรงของเหล็กข้ออ้อย พื้นที่หน้าตัดของเหล็กเส้นในการรับแรงดึงและแรงเฉือนต่อหน่วยความยาวของเกลียวเหล็กเส้น


3. การดัดโค้ง


การดัดเหล็กเส้นเพื่อทำเป็นของอมาตรฐานในส่วนปลายของเหล็กเสริมเพื่อใช้ฝังยึดในคอน กรีตสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยช้วิธีการดัดเย็น (cold bend) และ เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กสุดของการดัดเป็น 6 เท่า 8 เท่า และ 10 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นที่มีขนาด 6-25 มม. 28-36 มม. และ 44-57 มม. ตามลำดับ

ความคิดเห็น